คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริย เทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุง เงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส
การเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส
วันคริสต์มาสได้รับการเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลหลักและเป็นวันหยุดราชการใน หลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มิใช่คริสเตียน ในบางประเทศที่มิใช่คริสเตียน คริสต์มาสได้ถูกนำเข้าสู่วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ระหว่างที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม (เช่น ฮ่องกง) ส่วนในประเทศอื่น ประชากรค่อย ๆ รับเอาการเฉลิมฉลองของชนกลุ่มน้อยคริสเตียนหรืออิทธิพลจากวัฒนธรรมต่าง ประเทศ ในหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งคริสต์มาสได้รับความนิยมแม้ว่าจะมีประชากรนับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วน น้อย ได้รับเอามุมมองทางโลกของคริสต์มาสหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การตกแต่งอาคารสถานที่ และต้นคริสต์มาส ประเทศที่ซึ่งคริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ ในกลุ่มประเทศที่มีประเพณีคริสเตียนมั่นคง การเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่มีความหลากหลายได้รับการปรับปรุงกระทั่งกลายมาเป็น ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค สำหรับคริสเตียน การเข้าร่วมในศาสนพิธีถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการยอมรับเทศกาลดังกล่าว คริสต์มาส ตลอดจนเทศกาลอีสเตอร์ เป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้าโบสถ์มากที่สุดในแต่ละปี ในประเทศคาทอลิก ประชากรจัดการเดินขบวนทางศาสนาหรือขบวนแห่ก่อนคริสต์มาส ในประเทศอื่น ได้มีการจัดการเดินขบวนทางโลกหรือขบวนแห่ซึ่งนำเสนอซานตาคลอสและ สัญลักษณ์ของเทศกาลอื่น ๆ ซึ่งมักจัดขึ้นบ่อยครั้ง การกลับมาพบปะกันของครอบครัวและการแลกของขวัญได้กลายมาเป็นลักษณะเด่นของ เทศกาลที่มีอย่างกว้างขวาง การให้ของขวัญเป็นประเพณีที่มีในประเทศส่วนใหญ่ ส่วนวันอื่นที่มีการแลกของขวัญ ได้แก่ วันนักบุญนิโคลัส ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม และการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ ตรงกับวันที่ 6 มกราคม
นักเขียนคริสเตียนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้อง จนกระทั่งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการได้เริ่มต้นเสนอคำอธิบายอย่างอื่นแทน ไอแซก นิวตัน ได้แย้งว่า วันที่จัดเทศกาลคริสต์มาสเป็นไปตามเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และจัดงานเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ใน ค.ศ. 1743 คริสตเตียนนิกายโปรแตสแตนท์ชาว เยอรมัน พอล แอร์นสก์ จาบลอนสกี ได้ให้เหตุผลว่า การเลือกวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อเฉลิมฉลองคริสต์มาสนั้นตรงกับวันหยุดของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้ศาสนจักรที่แท้จริงเสื่อมทรามลง ตามประเพณีจูเดโอ-คริสเตียน เชื่อกันว่าการทรงสร้างดังที่ได้บรรยายในพระธรรมปฐมกาล เกิดขึ้นในวันวสันตวิษุวัต คือ วันที่ 25 มีนาคมในปฏิทินโรมัน วันที่ดังกล่าวปัจจุบันได้เฉลิมฉลองเป็นวันการประกาศของเทพและการครบรอบการมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซู ใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชน เสนอว่าวันคริสต์มาสสามารถคำนวณได้โดยบวกเวลาเข้าไปเก้าเดือนนับตั้งแต่วัน การประกาศของเทพ ซึ่งเป็นวันที่ความเข้าใจดั้งเดิมเกี่ยวกับพระเยซู